Wire and Tube
ท่อร้อยสายไฟ คืออะไร ? เหตุใดถึงต้องใช้
อุปกรณ์ในการติตดั้งในระบบไฟฟ้า มีอยู่หลากหลายอุปกรณ์ที่มีการใช้ในในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือสายไฟ เพราะเป็นเส้นทางในการเดินของกระแสไฟฟ้าที่จะนำมาใช้ภายในบ้าน แต่นอกเหนือจากสายไฟแล้วยังมีอุปกรณ์อีกหลากหลาย เช่น กล่องพักสายไฟ ท่อร้อยสายไฟ และในบทความนี้เราจะมารู้จักกับ ท่อร้อยสายไฟ
ท่อร้อยสายไฟ คืออะไร ?
ท่อร้อยสายไฟ เป็นอีกอุปกรณ์หนึ่งในการติดตั้งกับระบบไฟฟ้า มีลักษณะเป็นท่ากลวง ที่ภายในสามารถร้อยสายไฟเข้าไปภายในตัวท่อได้ ซึ่งมีหน้าที่ในการป้องกันสายไฟจากสภาพแวดล้อมและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เนื่องจากสายไฟเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญเปรียบเสมือนเส้นเลือดฝอยในร่างกายที่มีหน้าที่ในการกระจายกระแสไฟฟ้าไปยังพื้นที่ต่างๆ ภายในบ้าน จึงจำเป็นในการป้องกันเพื่อลดโอกาสที่จะเสียหายและยืดอายุการใช้งานของสายไฟ
สำหรับวิธีการใช้งานท่อร้อยสายไฟ ก็สามารถใช้งานได้ง่ายๆ เพียงนำสายไฟ ร้อยเข้าไปในตัวท่อ และดึงปลายของสายไฟไปติดตั้งกับอุปกรณ์อื่นต่างๆ อาทิเช่น กล่องพักสายไฟ กล่องไฟ สะพานไฟ และอื่นๆ
เหตุผลที่ควรใช้ท่อร้อยสายไฟ
ช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่อาจจะเข้าไปทำลายสายไฟภายใน เช่น สภาพแวดล้อม น้ำ แมลง และอื่นๆ
ทำการการติดตั้งระบบไฟฟ้าดูมีระเบียบ ไม่มีสายไฟห้อยระโยงระยาง
ช่วยลดโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้งานไฟฟ้า เช่นการไปสัมผัสโดนกับสายไฟ ไฟดูด ไฟฟ้าลัดวงจร
ช่วยยืดอายุการใช้งานของสายไฟให้นานขึ้น
ข้อจำกัดในการใช้ท่อร้อยสายไฟ
เพิ่มเวลาในการติดตั้ง เพราะจะต้องเตรียมแผนงานและเส้นทางในการติดตั้ง รวมถึงต้องใช้เวลาในการร้อยสายไฟเข้าไปภายในตัวท่อ ถ้าหากเป็นท่อชนิดแข็ง ถ้ามีจุดที่เปลี่ยนทิศทางบ่อยๆ จะยิ่งทำให้ใช้เวลาในการร้อยสายไฟมากขึ้น
ทำให้ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ระบบไฟฟ้าสูงขึ้น เพราะจำเป็นจะต้องจัดซื้อท่อร้อยสายไฟเพิ่มด้วย
ในการซ่อมบำรุง และดูแลรักษาจะใช้เวลามากกว่า เพราะสายไฟทุกเส้นอยู่ในท่อ
หากต้องการเพิ่มเติมสายไฟเข้าสู่ระบบ ก็อาจจะต้องเพิ่มจำนวนท่อ หรือร้อยเข้าไปในท่อเดิม ซึ่งจะทำได้ยากกว่า
ประเภทการติดตั้งของท่อร้อยสายไฟ
การเดินลอย – จะเป็นการติดตั้งท่อร้อยสายไฟที่อยู่ด้านนอกของผนัง โดยจะโชว์ตัวท่ออยู่ภายนอก จุดเด่นของการเดินลอย คือสามารถแก้ไขการติดตั้งในภายหลังได้ง่ายกว่า แต่ถ้าเลือกการติดตั้งแบบนี้อาจจะต้องคำนึงถึงการวางเฟอร์นิเจอร์ เพราะการติดตั้งแบบเดินลอยส่งผลต่อบล๊อคไฟที่จำเป็นจะต้องติดตั้งภายนอกผนัง จึงกินพื้นที่
การเดินแบบฝังผนัง – จะเป็นการติดตั้งท่อร้อยสายไฟฝังเข้าไปภายในผนังของกำแพง ซึ่งการเดินท่อแบบนี้จะไม่เห็นตัวท่อร้อยสายไฟ ทำให้การติดตั้งบล๊อคไฟต่างๆ สามารถติดตั้งภายในผนังได้เลย จึงไม่กินพื้นที่ภายนอก แต่การติดตั้งท่อร้อยสายไฟแบบนี้จะสามารถทำได้ในขณะที่กำลังออกแบบโครงสร้างบ้าน เพื่อวางแผนเส้นทางของสายไฟ และจะแก้ไขภายหลังได้ยากกว่าการเดินแบบเดินลอย
ที่มา :
kachathailand.com, chi.co.th
การคำนวณพื้นที่หน้าตัดสายไฟ ใน ท่อร้อยสายไฟ
1. สมการหาพื้นที่หน้าตัด A = (π/4) x D^2
โดยที่ D = เส้นผ่านศูนย์กลาง (สายไฟและท่อร้อยสายไฟ)
2. ดูเส้นผ่านศูนย์กลางรวมฉนวนของสายไฟจากแคตตาล็อกผู้ผลิตจากนั้นนำไปเข้าสมการตามข้อ 1
3. จากนั้นนำ 40% ไปหารพื้นที่หน้าตัดที่ได้ตามข้อ 2แล้วไปเลือกขนาดท่อร้อยสายไฟที่มีขายตามท้องตลาดให้ใหญ่กว่าที่คำนวณ
เช่น สาย THW ขนาด 25 sq.mm. 3 เส้น ควรใช้ท่อร้อยสายขนาดเท่าใด?
1. สาย THW 25 sq.mm. มี ศผก. 9.7 mm จะมี พท. หน้าตัด 73.9 sq.mm.
2. 73.9/40% = 184.75 sq.mm. แปลงกลับมาเป็น ศผก. = 15.34 mm
3. ดังนั้น เลือกท่อขนาด 20 mm มาใช้งาน
Cradit : วิศวะ101
ตารางในการติดตั้งสายไฟในท่อเช่น ท่อร้อยสายไฟ ท่อเหล็ก EMT, IMC. RSC, PE, PVC, uPVC, HDPE สายไฟประเภท THW จำนวนสายไฟที่สามารถใส่เข้าไปได้สูงสุด