TERMINAL SPRING
ย้อนความหลัง
เทอมินอลบล๊อกในอดีตที่ใช้กันมาอย่างแพร่หลายเป็นเทอมินอลที่ใช้การทำงานแบบขันด้วยไขควงแบบต่างๆตามที่ผูผลิตได้ออกแบบ (บทความนี้ขอพูดถึงเฉพาะกับ เทอมินอลบล๊อก) หลักการทำงานของเทอมินอลคือ การเชื่อมต่อระหว่าง 2 สิ่ง ในที่นี้จะเรียกว่าสายไฟหรือตัวนำไฟฟ้า
เทอมินอลแบบไข หลักการก็จะเป็นการไขน๊อตเพื่อบีบสายไฟให้แน่นไม่หลุดง่าย และปลอดถัย จึงเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะทำให้การดูแลรักษาง่าย และจำแนกได้ว่าเทอมินอลตัวนี้ใช้กับสายไฟหน้าที่อะไร
ด้วยความที่เป็นเทอมินอลแบบไข จึงอาจจะมีการคลายตัวของเหลียวน๊อตเมื่อใช้ไปนานๆ หรืออาจจะอยู่ในจุดที่มีแรงสั่นสะเทือนจนทำให้สายไฟหลวม เกิดการชำรุดเสียหายกับวงจรหรือเครื่องจักรที่กำลังใช้งานอยู่ อาจเป็นต้นเหตุของอัคคีภัย ดังถาพด้านล่าง
ปัจจุบัน แนวทางการแก้ปัญหานี้ ได้มีการผลิต SPRING TERMINAL ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาตรงส่วนนี้ ซึ่งข้อดีของเทอมินอลแบบนี้ก็คือ
การกดทับกับสายไฟที่ไม่ล้าในพื้นที่ๆสั่นสะเทือน ทำให้สายไฟไม่หลุดออกจากเทอมินอลได้ง่าย
การเข้าสายจะเป็นการเข้าสายจากด้านบน ทำให้ง่ายต่อการเข้าสายในพื้นที่จำกัด
การปลดสาย-เข้าสาย ใช้ไขควงในการงัดซึ่งง่ายและรวดเร็ว
ข้อเสียของสปริงเทอมินอล
ยังมีการผลิตเพื่อรองรับสายไฟที่มีขนาดใหญ่ไม่ได้ (มากกว่า 10 Sq.mm)
ราคา ณ ปัจจุบัน ยังคงแพงกว่าแบบน๊อตไข
Push in Terminal Block เป็นเทอมินอลสปริงอีกแบบที่เรียกว่า ออกมาแก้ไขข้อบกพร่องบางประการของสปริงแคล๊ม กล่าวคือ การใช้งานสปริงแคล๊มจำเป็นต้องใช้ไขควงเข้าไปงัดกับตัวนำด้านใน ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายกับผู้ใช้ถ้ายังไม่ได้ปลดแหล่งจ่ายออก ใช้งัดทั้งใส่และถอดสายไฟ(ไขควงแกนเหล็กนำไฟฟ้าได้)
Push in Terminal ตัวนี้จึงผลิตออกมาให้มีแกนปลดสีส้มเป็นพลาสติก ไม่นำไฟฟ้า
การใช้งานเพียงแค่เอาไขควงกดเพื่อจะดึงสายออกได้อย่างง่ายดาย ส่วนการใส่ก็ทำได้ง่ายเพียงแค่ กดสายไฟลงที่ช่องได้เลย กดลงสุด สปริงจะล๊อกและดึงไม่ออก
SPRING CLAMP TERMINAL BLOCK
PUSH IN TERMINAL BLOCK