Surge Protection Device
แรงดันเกินชั่วขณะมีสาเหตุมาจากหลายปรากฎการณ์ เช่นปรากฎการณ์ฟ้าผ่าทั้งแบบโดยตรง (Direct Strike) และแบบโดยอ้อม (Indirect Strike) หรือแม้แต่แรงดันเกินชั่วขณะที่เกิดจากการเปิด-ปิดอุปกรณ์ ที่มีองค์ประกอบ Inductive หรือ Capacitive ซึ่งปรากฎการณ์เหล่านี้ทำให้เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์ไฟฟ้า
ซึ่งเราสามารถป้องกันความเสียหายได้โดยการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกินชั่วขณะจากฟ้าผ่า (Surge Protection Device, SPD) ที่ตู้ไฟฟ้า ซึ่งมีหน้าที่และหลักการคือลัดวงจรตัวเองในขณะที่เกิดแรงดันเกินชั่วขณะ เพื่อทำให้กระแสเซิร์จเปลี่ยนทิศทางวิ่งผ่านตัวเองลงสู่กราวด์ แทนที่จะเข้าไปทำอันตรายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในระบบ
ในขณะเดียวกันแรงดันคร่อม SPD ก็จะถูกจำกัดไว้ที่ค่าระดับหนึ่งเพื่อไม่ให้สูงเกินไปจนเป็นอันตรายกับอุปกรณ์ไฟฟ้า จากนั้นเมื่อแรงดันเซิร์จผ่านลงกราวด์ไปแล้วอุปกรณ์ SPD ก็จะทำการเปิดวงจรตัวเองกลับมาสู่สถานะปกติเช่นเดิม
โดยอุปกรณ์ SPD ต้องได้รับมาตรฐาน IEC 61643-1/EN 61643-11
การใช้งานอุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกินชั่วขณะ (SPD) ต้องติดตั้งใช้งานร่วมกับ MCB หรือ Fuse 1 ตัวต่อ 1 เฟสเสมอ
ป้องกันการเกิดเบรกดาวน์ หรือ การลัดวงจรของ SPD ที่อาจจะเกิดขึ้นและเป็นอันตรายจากไฟฟ้าลงดินได้
ชนิดของ SPD มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด (TYPE) ได้แก่ TYPE 1, TYPE 2, TYPE 3
โดย
TYPE 1 / CLASS I : อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากที่สามารถปล่อยกระแสฟ้าผ่าบางส่วนความเร็วในการทำงาน 10/350µs จะถูกติดตั้งไว้จากหม้อแปลงก่อนที่จะเข้าตัวบ้าน หรือตู้ MDB, LOAD CENTER
TYPE 2 / CLASS II : มีไว้สำหรับติดตั้งภายใน MDB, LOAD CENTER ของสถานประกอบการที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม เหมาะที่สุดสำหรับการป้องกันไฟกระชากชั่วขณะและฟ้าผ่าโดยอ้อม โดดเด่นด้วยคลื่นกระแส 8/20 μs มักจะใช้เทคโนโลยี MOV
TYPE 3 / CLASS III : นี้ใช้เพื่อป้องกันเครื่องใช้ในครัวเรือนจากไฟกระชากที่เกิดขึ้นภายในบ้าน ณ จุดใช้งาน มีอัตราการคายประจุที่น้อยกว่ามาก – ขั้นต่ำ 3kA มีการติดตั้งไว้ใกล้กับโหลด เช่น เต้ารับ และทำหน้าที่เป็นส่วนเสริมของ Type-2 SPD
เท่าที่ใคยเห็นจะเป็นการนำ TYPE1+2 ไว้ในตู้ MDB เพราะคุณสมบัติที่ต่างกัน และออกแบบมาให้เล็กลงพื้นที่ๆไม่เสียเพิ่มจากการติดตั้งมากนัก