RCCB / RCBO / MCB HOW TO WORK
ลูกเซอร์กิต หรือ เบรกเกอร์ลูกย่อย (Miniature Circuit Breaker)
เป็นเบรกเกอร์ขนากเล็กมักใช้ในอาคาร ใช้ติดตั้งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load center) หรือตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตในห้องพักอาศัย (Consumer unit) มีพิกัดกระแสลัดวงจรต่ำ เป็นเบรกเกอร์ชนิดที่ไม่สามารถปรับตั้งค่ากระแสตัดวงจรได้ และส่วนใหญ่จะอาศัยกลไกการปลดวงจรในรูปแบบ thermal และ magnetic
สำหรับการเลือก MCB สำหรับใส่ในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตนั้น เราสามารถติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันนี้อยู่ 2 จุด ได้แก่ เป็นอุปกรณ์ป้องกันเมนหรือเมนเบรกเกอร์ และ วงจรย่อย ซึ่งที่จุดเมนเบรกเกอร์นั้นต้องเลือกค่ากระแสจากโหลดทั้งหมด โดยส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ประมาณ 100 A สำหรับ MCB ส่วนที่วงจรย่อยกระแสที่เลือกขึ้นอยู่กับโหลดแต่ละจุดที่ใช้งาน เช่น เป็นโหลดแสงสว่าง, โหลดเต้ารับ, โหลดเครื่องทำความเย็น และ โหลดเครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น โดยหลักๆแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการเลือกซื้อนั้นได้แก่ จำนวน pole, ค่า In, ค่า Icu, และ มาตรฐานต่างๆ เป็นต้น
โดยที่ค่า
In กระแสพิกัด คือ ขนาดกระแสใช้งานสูงสุดที่เบรกเกอร์สามารถทนได้ในสภาวะใช้งานและสภาพแวดล้อมปกติ
Icu คือ ขนาดกระแสลัดวงงจรสูงสุดที่เบรกเกอร์สามารถทนและยังสามรถตัดวงจรได้โดยไม่เกิดความเสียหายขึ้นกับตัวเบรกเกอร์เอง มักแสดงในรูปของ kA RMS
วีดีโอแสดงการทำงานของ MCB ภาษาอังกฤษ
เครื่องตัดไฟรั่ว คืออะไร
เครื่องตัดไฟรั่ว RCD (Residual Current Device) คือ เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดกระแสไฟฟ้าภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าและออก มีค่าไม่เท่ากัน นั่นคือมีกระแสไฟฟ้าบางส่วนที่รั่วหายไป เช่น รั่วไหลจากเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินหรือกระแสไฟฟ้ารั่วผ่านคนที่ไปสัมผัสอุปกรณ์ที่มีไฟรั่วอยู่ ขณะใช้งานปกติจะไม่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว ดังนั้น เครื่องตัดไฟรั่ว จะไม่ทำงาน ส่วนมากจะติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต ในบ้านพักอาศัย
เครื่องตัดไฟรั่ว อาจมีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น เครื่องตัดวงจรกระแสเหลือ (RCD, RCBO, RCCB) หรือเครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน (ELCB, GFCI) ถูกนำไปใช้งานร่วมกับ เซอร์กิต เบรกเกอร์ ประเภทอื่นๆ เช่น เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB หรือ เบรกเกอร์ MCCB
แต่ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายจะมี 3 ประเภทด้วยกันได้แก่ RCCB (Residual Current Circuit Breakers), RCBO (Residual Current Circuit Breakers with Overload protection) และ ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker)
เครื่องตัดไฟรั่ว RCD มีหลักการทำงานอย่างไร RCD (Residual Current Device)
สำหรับหลักการทำงานของ RCD นั้น ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมากมาย โดยเครื่องจะตรวจวัดค่ากระแสไฟเข้าและไฟฟ้าออกว่ามีค่าเท่ากันหรือไม่ หากมีค่าไม่เท่ากันตามสเปกของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้กำหนดไว้ เบรกเกอร์กันดูดหรือ RCD ก็จะทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าโดยอัตโนมัติในทันที ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นหนึ่งมีค่ากระแสไฟฟ้าเข้าไฟฟ้าออกต่างกันเกิน 30 mA เบรกเกอร์กันดูดก็จะตัดวงจรในทันที โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้อธิบายไว้ว่า RCD จะปลดวงจรไฟฟ้าทันทีแม้มีไฟรั่วเพียงเล็กน้อย กล่าวคือเมื่อไฟไม่ไหลกลับไปตามสายไฟฟ้าแต่รั่วลงดินผ่านร่างกายมนุษย์หรือฉนวนไฟฟ้าที่ชำรุดนั่นเอง
RCCB (Residual Current Circuit Breakers)
เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดหนึ่งที่ช่วยตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดการรั่วไหลในระบบไฟฟ้าแต่ไม่สามารถตัดกระแสลัดวงจรได้ ส่วนใหญ่ที่มีการใช้งานจะมี 2 ขนาดด้วยกัน ขนาด 2 Pole สำหรับไฟ 1 เฟส และขนาด 4 Pole สำหรับไฟ 3 เฟส ในการทำงานนั้นจะใช้ควบคู่กับ MCB, MCCB
ด้วยคุณสมบัติของ RCCB ที่ไม่ตัดกระแสลัดวงจร การใช้งานจำเป็นที่จะต้องใช้ควบคู่กับ MCB ทำหน้าที่ในการตัดกระแสลัดวงจร จึงจะปลอดภัยสูงสุด
เครื่องตัดไฟรั่วแบบไม่มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน
RCBO (Residual Current Circuit Breakers with Overload protection)
เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด (ไฟช็อต) พร้อมมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ในตัว สามารถตัดวงจรได้ทั้งกรณีที่มีไฟรั่วและมีกระแสลัดวงจร
ด้วยคุณสมบัติในการตัดไฟรั่วพร้อมกับตัดกระแสเกิน ทำให้เหมาะแก้การติดตั้งในตู้ที่มีโมดูลของที่ช่องจำกัด
เครื่องตัดไฟรั่วที่ตัดกระแสลัดวงจรและกระแสเกินได้