การใช้งาน CT (Current Transformer) และการเลือกอุปกรณ์ต่อพ่วง
CT วัดกระแส (หม้อแปลงวัดกระแส) คือ อุปกรณ์ทำหน้าที่ลดกระแสที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้ง่ายและปลอดภัยต่อการใช้งานในระบบไฟฟ้า
จากรูปด้านบนจะเห็นว่า ขดลวดทางด้านปฐมภูมิ (Primary) มีสายไฟหรือบัสบาร์ ผ่านแกนของ CT เพียงเส้นเดียว หมายความว่า CT วัดกระแส (หม้อแปลงวัดกระแส) หนึ่งตัวจะใช้งานได้ ต่อโหลดได้ 1 ตัวต่อเฟส ในส่วนของขดทางด้านทุติยภูมิ (Secondary) จะมีจำนวนรอบของขดลวดมากกว่าด้านเข้า
แกนรูปโดนัทของหม้อแปลงวัดกระแส (CT) ทำมาจากเหล็กที่มีความสูญเสียต่ำ ซึ่งคุณภาพของวัสดุที่นำมาทำแกนของ CT มีความสำคัญมากเนื่องจากมันมีผลกระทบกับประสิทธิภาพและค่าความแม่นยำของตัว CT เองการทำงานของหม้อแปลงกระแสอาศัยหลักการลดกระแสทางด้านอินพุตและเอาต์พุตแบบสัดส่วน (Ratio)โดยการเอาสายตัวนำหรือบัสบาร์เป็นขดลวดทางด้านปฐมภูมิ เมื่อมีกระแสไหลผ่านตัวนำจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นภายในแกนของ CT และมีกระแสไหลในขดลวดทุติยภูมิ
การเลือกใช้งาน หม้อแปลงกระแส (CT)
กระแสปฐมภูมิ (Primary) การเลือกต้องคำนึงถึงการใช้งานที่กระแสพิกัดของโหลด เช่น ในระบบต้องการใช้กระแส ที่ 250 แอมแปร์ ให้เลือกหม้อแปลงวัดกระแส (CT) ที่ 300 A เป็น 1.2 เท่าของ กระแสพิกัดของโหลดที่ใช้งานกระแสทุติยภูมิ เป็นค่าที่ถูกกำหนดขึ้นใช้งานเป็นมาตรฐานเดียวกัน คือ 1A และ 5A
ในระบบ 3 เฟส 4 สาย เราจะใช้ CT 3 ตัว ในการวัดในตำแหน่ง L แต่ละเฟส
ในระบบ 1 เฟส 2 สาย เราจะใช้ CT 1 ตัว วัดในตำแหน่ง L
ข้อควรระวัง(Safety)
ไม่ว่ากรณีใด ๆถ้าหากมีกระแสไหลทางด้านปฐมภูมิ ไม่ควรให้ขดลวดทางด้านทุติยภูมิของ หม้อแปลงวัดกระแส (CT) เปิดวงจร เนื่องจากตอนปิดวงจร จะมีอิมพีแดนซ์ (Impedance) ประมาณ 0.2 ohm แรงดันประมาณ 1 Volt แต่ถ้า CT เปิดวงจรจะทำให้มีอิมพีแดนซ์เป็นอนันต์ (Infinity) เมื่อนำมาหาแรงดันเอาต์พุตที่กระแส 5A จะเกิดแรงดันสูงระดับ กิโลโวลต์ (kV) จนฉนวนละลายและทำให้ CT เสียหาย
จากภาพด้านบน เป็นการแสดงการต่อ CT ใช้งานกับ มิเตอร์แบบ Analog กับ Digital
การต่อแบบ Analog (ภาพซ้าย) โดยใช้ มิเตอร์เข็มทำหน้าที่ในการอ่านค่าที่ได้จาก CT และผ่านไปยัง Selector Switch โดย Selector Switch ทำหน้าที่ในการจัดการ CT ทั้งสามชุด เพราะเราต้องการใช้ มิเตอร์ แค่ 1 ตัว แต่จะแสดงผลได้ที่ละ 1 เฟส ต่อการบิดไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
ในตำแหน่ง 0 (CT) จะอยู่ในตำแหน่ง ช๊อตลง GND ทั้ง 3 ตัวการต่อแบบ Digital (ภาพขวา) เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่านจากระบบ Analog ไป Digital ในตัวมิเตอร์เองจะมีหลายฟังชั่นในตัวเดียวกัน ทั้งวัดโวลท์, แอมป์, ความถี่, Power, PF, ฯลฯ การใช้ Selector Switch จึงไม่จำเป็นอีกต่อไป แต่การต่อวงจรยังคงต้องใช้หลักการของความปลอดภัยอยู่ ในขณะที่มีการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยน Digital Meter ใหม่ จำเป็นจะต้อง ช๊อต CT ขั้ว S1-S2 ลง GND เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายต่อตัว CT
" ข้อควรระวัง(Safety)
ไม่ว่ากรณีใด ๆถ้าหากมีกระแสไหลทางด้านปฐมภูมิ ไม่ควรให้ขดลวดทางด้านทุติยภูมิของ หม้อแปลงวัดกระแส (CT) เปิดวงจร เนื่องจากตอนปิดวงจร จะมีอิมพีแดนซ์ (Impedance) ประมาณ 0.2 ohm แรงดันประมาณ 1 Volt แต่ถ้า CT เปิดวงจรจะทำให้มีอิมพีแดนซ์เป็นอนันต์ (Infinity) เมื่อนำมาหาแรงดันเอาต์พุตที่กระแส 5A จะเกิดแรงดันสูงระดับ กิโลโวลต์ (kV) จนฉนวนละลายและทำให้ CT เสียหาย "
การติดตั้ง (Installation)
ถ้าเราใช้ หม้อแปลงวัดกระแส (CT) สำหรับวัดค่าพลังงาน จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องคำนึงถึงความถูกต้องของการต่อและทิศทางการเข้าสาย การต่อสายไฟของการวัดการใช้พลังงาน ด้านปฐมภูมิต้องต่อสายไฟจากแหล่งจ่ายจากด้าน P1 ออก P2 แล้วออกไปหาโหลด ส่วนด้านทุติยภูมิต่อ S1 เข้ากับขั้วที่มีความเป็นบวกมากที่สุด S2ต่อเข้ากับขั้วลบ ของอุปกรณ์ที่นำมาต่อร่วม เช่น มิเตอร์, ทรานสดิวเซอร์ ตรวจสอบลำดับเฟสให้ถูกต้อง ถ้าหากลำดับเฟสผิดจะทำให้การวัดค่าพลังงานผิดพลาด และควรต่อขั้ว S2 ลงกราวด์ของระบบ
จึงมีความจำเป็นต้องใช้ TERMINAL ที่ใช้งานร่วมกับ CT ในกรณีที่ต้องปลด METER ออกจากวงจร เพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังข้อความที่ยกมาด้านบน
โดย Terminal ชนิดนี้ สามารถช๊อตตัว CT เข้าด้วยกันได้ อย่างง่ายดาย ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย
Disconnect & Test Terminal Block
These Terminal Blocks are used for measuring, control and regulatory circuits. They Provide a clear functional advantage for devices having utility instruments and associated transformers. in this Terminal Block disconnection is achieved by means of a slide link operated by screwdriver. Specially designed socket headed screws act as test monitoring points in disconnecting & Test Terminal Block.